ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดเพื่อการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม เนื่องในสายพันธุ์ยอดนิยมในวงการปลาสวยงามคือ ปลากัดยักษ์ ปลากัดแฟนซีสีสันสวยงามที่มีขนาดใหญ่เหมาะสำหรับการเลี้ยงเดี่ยวในตู้เฉพาะแบบ หรือเลี้ยงในตู้พรรณไม้น้ำเพิ่มสีสัน
การพัฒนาสายพันธุ์ ปลากัดยักษ์ เพื่อการส่งออก
ปลากัดฮาฟมูน ความงามจากสายเลือกเยอรมัน
สำหรับ ปลากัด-ยักษ์ คือปลาที่ถูกคัดเลือกสายพันธุ์เพื่อนำปลากัดตัวใหญ่ ๆ มาผสมพันธุ์กัน จนได้ปลาที่มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษมากกว่าปลากัดพันธุ์ปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลากัดที่ถูกเรียกว่าปลากัดหูช้าง รวมไปถึงปลากัดฮาฟมูนที่มีขนาดของครีบหางและครีบลำตัวที่แผ่กว้างสวยงาม ซึ่งในปลากัดที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากคือปลากัดลายธงชาติ ที่สร้างความสะเทือนเลือนลั่นในวงการปลากัดในระดับโลก โดยนักพัฒนาสายพันธุ์ชาวไทยที่สามารถจัดเรียงสีสันของปลากัด ให้มีรูปร่างคล้ายกับธงชาติไทย ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าของปลากัดในท้องตลาดในเวลานี้
วิธีการเพาะพันธุ์ปลากัดเพื่อการจำหน่าย
สิ่งที่ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต้องทำความเข้าใจก่อนที่จะเข้าสู่สนามการเพาะเลี้ยงปลากัดนั่นคือ ปลากัด จะมีวิธีการในการเพาะเลี้ยงที่ยุ่งยากมากกว่าปลากัดทั่วไปหรือปลากัดแฟนซี นั่นเป็นเพราะว่าความละเอียดอ่อนของครีบหลังและครีบหางที่สามารถติดโรคได้ง่าย ถ้าการควบคุมดูแลคุณภาพน้ำนั้นเป็นไปได้ไม่ดี หรือการให้อาหารที่มากจนเกินไปจนเกิดภาวะน้ำเน่าเสีย และไม่ทำการเปลี่ยนน้ำอย่างทันทีทันใด จะทำให้หางของปลากัดกร่อนหรือเบื่ออย่างรวดเร็ว และทำให้ปลาติดโรคและตายลงได้อย่างรวดเร็ว ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลเอาใจใส่อย่างดี สำหรับคุณภาพน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงปลากัด
ปลากัด ถือเป็นปลาสวยงามที่มีอนาคตไกล ทั้งในแง่ของการเพาะเลี้ยงสำหรับการจำหน่ายภายในประเทศ รวมไปถึงการขยายออกเป็นฟาร์มขนาดใหญ่เพื่อการส่งออก และถึงกระนั้นต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่อย่างดีเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ รวมถึงดูแลสุขภาพของปลาให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน สำหรับการส่งออกไปสู่ตลาดเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในต่างแดน และจะเป็นรายได้สำคัญเข้ามาสู่ประเทศ รวมไปถึงตัวของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้อย่างประสบความสำเร็จ กับการขยายพันธุ์ปลากัด
หมายเหตุ ขอขอบคุณภาพจาก https://hottopic.postjung.com
3,236 total views, 7 views today